ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) เป็นภาวะที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีลักษณะเด่นคือเปลือกตาบนตกลงมาต่ำผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้ต่อการมองเห็นและภาพลักษณ์ของใบหน้า สาเหตุมาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ยกเปลือกตา เส้นประสาท หรือการเกิดความเสื่อมสภาพตามวัย ภาวะ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) นี้อาจเป็นเพียงเรื่องความสวยงาม แต่ในบางรายอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและหากทิ้งไว้นานไม่ได้รับการรักษาอาจจะให้สูญเสียทัศนียภาพในการมองเห็นได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คืออะไร ?
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) คือภาวะกล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ยกเปลือกตาหรือเส้นประสาทบริเวณดวงตาทำงานผิดปกติ ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ มีผลทำให้หนังตาตกหย่อนลงต่ำกว่าตำแหน่งปกติ ไม่สามารถพยุงชั้นตาของเราได้ ในการลืมตา กะพริบตาแต่ละครั้ง ในบางคนหนังตาบนที่ตกลงมาปิดตาดำจนอาจมองเห็นได้ไม่ชัดเจน หรืออาจจะปิดการมองเห็นเลยก็ได้ อาการตาปรือที่เกิดขึ้นนี้ เกิดขึ้นจากการที่ “กล้ามเนื้อตา” ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เสียบุคลิกภาพ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
“ โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกเปลือกตาหรือระบบประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อตาดังกล่าว ทำให้ตาดูเหมือนคนง่วงนอน ตาจะปิดตลอดเวลา ดวงตาดูไม่เท่ากันหนังตาตก ซึ่งมีอาการคล้ายกับภาวะหนังตาตกตามวัย อาการเห็นภาพซ้อนกล้ามเนื้อหนังตาหย่อน กระทั่งอาการหลับตาไม่สนิท ”
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดขึ้นได้กับใครบ้าง?
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ในบางรายเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือบางรายอาจเป็นตอนอายุมากขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ยกเปลือกตาหย่อนยาน อาจเป็นได้ข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ ซึ่งทำให้ตาดูไม่เท่ากัน การที่ยกหนังตาไม่ค่อยขึ้นทำให้มีดูตาปรือ ยังส่งผลถึงการมองเห็น ทำให้วิสัยทัศน์การมองเห็นแคบลงด้วย จนกลายเป็นคนที่ดูง่วงนอนตลอดเวลา ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ทำให้หลายคนต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

สาเหตุของการเกิด กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
1.พันธุกรรม
กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงจากพันธุกรรมเป็นการเกิดขึ้นของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด เรียกว่าโรคหนังตาตกแต่เกิด (Congenital Ptosis) เกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือถ่ายทอดจากพันธุกรรมทำให้หนังตาตกลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ โดยสาเหตุพบว่า ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ส่งผลกระทบต่อตาหนึ่งหรือสองข้าง เด็กที่มีภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสายตาอื่นๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นตาขี้เกียจ (Lazy eye) สายตาเอียง มองเห็นภาพมัว ตาเข (Amblyopia) การเคลื่อนไหวตาผิดปกติ จากหนังตาตกทับดวงตา บดบังการมองเห็นทำให้สมองด้านนั้นไม่ได้รับการกระตุ้น จนอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจและตาเอียงร่วมด้วย
2.อายุที่เพิ่มมากขึ้น
อายุที่มากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อตาและผิวหนังมีการหย่อนคล้อยไปตามวัยและการใช้งาน ความแข็งแรงของเปลือกตาและกล้ามเนื้อยกเปลือกตาจะลดลง การออกแรงยกเปลือกตาได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง “หนังตาตก” ทับตาดำมากกว่าปกติ บดบังทัศนียภาพการมองเห็น เกิดการเลิกคิ้วเพื่อให้มองเห็นได้ชัด ซึ่งยิ่งทำให้เกิดริ้วรอยย่นบนหน้าผากเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อความสวยงามร่วมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน
3.พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างอาจเป็นสาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เช่น การอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือจ้องหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานานโดยไม่ได้พักสายตา ทำให้สายตาทำงานหนัก เกิดอาการอ่อนล้าดวงตา หรือการใส่คอนแทคเลนส์ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน การกระทำเหล่านี้เสี่ยงพัฒนาไปเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง รวมไปถึงการขยี้ตาบ่อยๆ แรงๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรงได้เช่นกัน
4.อุบัติเหตุ หรือศัลยกรรมตาผิดพลาด
- การเกิดอุบัติเหตุส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ การเกิดอุบัติเหตุมีส่วนทำให้กระดูกบริเวณใบหน้าผิดไปจากเดิม หรือการเกิดอุบัติเหตุที่ทำเกี่ยวกับเบ้าตาหรือกระทบกระเทือนรอบดวงตาอย่างหนัก เนื่องจากการกระแทกทำให้เส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อตาผิดปกติ จนเกิดหนังตาตก ลืมตาลำบาก จนส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากการผ่าตัดทำตาสองชั้น เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากความผิดพลาดในการผ่าตัด โดยเฉพาะเมื่อทำโดยผู้ที่ไม่มีความชำนาญการหรือเครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐาน สาเหตุหลักเกิดได้แก่ การใช้เทคนิคผูกปมไหมไม่ละลายใต้ผิวหนังที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้ปมไหมไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา ส่งผลให้ตาปรือและระคายเคือง หรือ เกิดจากภาวะที่มีหนังตาตกจากการที่อ่อนแรงแต่เดิม แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยก่อนศัลยกรรม
5.กล้ามเนื้อเหนือเบ้าตาฉีกขาด
กล้ามเนื้อเหนือเบ้าตาฉีกขาด เกิดจากกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ (Levator) ที่มีหน้าที่หน้าที่ยกเปลือกตาและควบคุมการปิด-เปิดทำงานผิดปกติได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อส่วนนี้เกิดการอ่อนแรง จากการใส่คอนแทคต์เลนส์นานหรือการขยี้ตาแรงๆบ่อยๆ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตาบาดเจ็บจนเกิดเป็นภาวะกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง
6.ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Myasthenia Gravis)
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (Myasthenia Gravis) หรือ MG สาเหตุเกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันแอนติบอดี้บางชนิดขึ้นมายับยั้งหรือทำลายโปรตีน ที่มีบทบาทสำคัญในการรับสารอะซีทิลคอลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตาอ่อนแรงง่ายขึ้น เนื่องจากหลั่งสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการตาปรือ ลืมตาลำบาก หนังตาตก การกลอกตาผิดปกติ เกิดภาพซ้อน และตาไม่สามารถโฟกัสได้

วิธีสังเกตอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
วิธีการสังเกตตัวเองว่ามีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไหม เพื่อไม่ให้ดวงตามีปัญหาจนยากที่จะรักษา จะต้องหมั่นสังเกตอาการหนังตาตกของตัวเอง โดยสามารถดูได้จากอาการเหล่านี้
- บริเวณหนังตาตก การที่ขอบเปลือกตาบังตาดำลงมามากกว่า 2 มิลลิเมตร ฉะนั้นตาจึงดูปรือ เปลือกตาที่ตกลงมามากอาจบดบังตาดำ ทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจน หรือมองเห็นแคบลง แม้พยายามลืมตาอย่างเต็มที่
- การลืมตาหรือการมองเห็นลดลง การลืมตาดูไม่เท่ากัน กล้ามเนื้อตาที่อ่อนแรงทำให้ชั้นตาตก จะมีอาการลืมตาไม่ขึ้นข้างเดียว ซึ่งมีลักษณะเด่นชัดคือ เปลือกตาข้างที่ผิดปกติจะตกมาปิดบริเวณขอบบนของตาดำมากกว่าดวงตาข้างที่ปกติ
- สังเกตเบ้าตา เบ้าตาลึกกว่าปกติ ภาวะหนังตาตกทั้งสองข้าง เริ่มมีพฤติกรรมขยี้ตามากเกินไป เพราะมองไม่ชัดจากการที่หนังตาเริ่มตก ต้องคอยเงยหน้าเพื่อช่วยการมองเห็น
- ปัญหาทางสายตาอื่นๆ เกิดภาวะตาขี้เกียจ สายตาเอียง หรือมองเห็นภาพซ้อนได้
การสังเกตอาการตาปรือ เปลือกตาตก หรือการมองเห็นผิดปกติสามารถช่วยในการวินิจฉัย เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งการรักษามีทั้งการใช้ยาและการศัลยกรรม เช่น การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาด้วยเทคนิคต่างๆ ก็สามารถช่วยฟื้นฟูการลืมตาและการมองเห็นให้กลับมาปกติได้

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงส่งผลกระทบอย่างไร?
หากถามว่ากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม? แม้ว่าไม่ส่งผลอันตรายมากในบางราย แต่อย่างไรก็ตาม หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ ซึ่งอาการของกล้ามเนื้อตาส่งผลต่อบุคลิกภาพ สุขภาพ รวมถึงความสวยงาม ดังนี้
- บุคลิกภาพไม่ดี เพราะดูตาไม่เท่ากัน ตาปรือทำให้ดูง่วงนอนตลอดเวลา ส่งผลให้ต้องเลิกคิ้ว หรือเงยหน้ามองอยู่บ่อยๆ ทำให้ดูบุคลิกไม่ดี
- กระทบกับสุขภาพ อาจกดกระจกตาทำให้สายตาเอียงหรือบดบังการกระทบของแสง จึงมองเห็นไม่ชัดเจนโดยเฉพาะภาพจากด้านบน
- ส่งผลต่อความสวยงาม ตาดูอิดโรย ไม่สดใส รวมทั้งเบ้าตาลึก ทำให้หน้าดูโทรม มีอายุแก่กว่าวัย
วิธีรักษา กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
รักษาได้ด้วยการให้ยา และด้วยการผ่าตัด แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดหนังตาให้ผลการรักษาที่ไม่แน่นอน โดยก่อนการผ่าตัดหนังตาควรสังเกตอาการต่างๆ ข้างต้น เพื่อเข้ารับการปรึกษากับจักษุแพทย์
รักษาโรค กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ด้วยยา
- ยาที่ใช้รักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค หากเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันจะใช้ยาที่ช่วยปรับการทำงานของภูมิคุ้มกันเพื่อลดการทำลายกล้ามเนื้อ และยาเพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทกับกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อตาทำงานได้ดีขึ้น
- ในบางกรณีหากมีการอักเสบหรือภาวะอื่นที่เกี่ยวข้อง อาจใช้ยาที่ช่วยลดอาการอักเสบหรือบรรเทาอาการที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อตา การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เพื่อให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
ผ่าตัดรักษา กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
การผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งการผ่าตัดจะใช้วิธีเย็บตรึงกล้ามเนื้อตา ด้วยความตึงที่แตกต่างกันในแต่ละข้าง เพราะส่วนมากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะหย่อนคล้อยไม่เท่ากัน วิธีการผ่าตัดมีหลากหลายวิธี แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการจัดการกับกล้ามเนื้อตา รีเวเตอร์ (Levator) ที่อยู่ลึกเข้าไปใน ชั้นหนังตา โดยแพทย์จะไปทำการเปิดแผลและเลาะชั้นกล้ามเนื้อตานี้ออก เย็บให้แข็งแรง หรืออาจจะผ่าตัดตกแต่งเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับอาการที่แตกต่างกันและการรักษาในแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน เพราะชั้นกล้ามเนื้อตานี้มีความบอบบาง และยิ่งในเคสที่กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด ดังนั้นแพทย์ที่รักษาควรเป็นจักษุแพทย์เฉพาะทางรอบดวงตา (Occuloplastic)โดยเฉพาะ

การเตรียมตัวก่อนรับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

การดูแลหลังผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

สรุปภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
เพื่อให้การแก้ไขได้ประโยชน์ทั้งในแง่การมองเห็นที่กว้างขึ้น ลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา การผ่าตัดโดยใช้เทคนิคศัลยกรรมตกแต่งโดยจักษุแพทย์เฉพาะทาง ยังช่วยในแง่ของการตกแต่งภาพลักษณ์ความสวยงามของดวงตา การปรับลักษณะชั้นตาให้ชัด เพื่อเสริมบุคลิกภาพ แสดงถึงความอ่อนเยาว์ของดวงตา ช่วยให้ดวงตาที่ดูโตขึ้น ดูสดใส เพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิต
หากท่านใดที่มีอาการบ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แนะนำให้เข้าพบคุณหมออาร์ตที่เฮอร์คลินิก ปรึกษาและให้คุณหมอประเมินจากโครงสร้างจริงของดวงตาโดยตรง เพื่อที่คุณหมอจะได้ประเมินปัญหาชั้นตาและแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงให้คนไข้ได้อย่างตรงจุด ความปลอดภัย และแม่นยำที่สุด.
Q&A ในคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ“กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”





