• TH/EN
  • 099-1890189
  • MRT สุทธิสาร ทางออก 4
  • จันทร์-เสาร์: 10.00 - 20.00 น.
  • TH/EN
  • 099-1890189
  • MRT สุทธิสาร ทางออก 4
  • จันทร์-เสาร์: 10.00 - 20.00 น.
7โรคอันตราย ภัยสุขภาพที่มาช่วงฤดูร้อน

7โรคอันตราย ภัยสุขภาพที่มาช่วงฤดูร้อน

ในช่วงหน้าร้อน อากาศร้อนและความชื้นสูงอาจทำให้เกิดโรคต่างๆ เกิดได้ง่ายขึ้น เพราะเชื้อโรคบางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับอาหาร น้ำ และสภาพอากาศ มาดูกันว่าโรคที่พบบ่อยในช่วงนี้ฤดูร้อน 7โรคอันตราย มีอะไรบ้าง


ภัยใกล้ตัวที่ควรเฝ้าระวังกับ 7โรคอันตราย มีอะไรบ้าง

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke)

เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนสะสมมากเกินไป โดยอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียล จนไม่สามารถระบายออกได้ ส่งผลให้ตัวร้อนจัด รู้สึกเมื่อยล้า ปวดศีรษะ  เหงื่อไม่ออก ชีพจรเต้นไว ใจสั่นจนถึงขั้นชักและอาจหมดสติได้


วิธีป้องกัน ฮีทสโตรก

1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และน้ำอัดลม เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ

2. หลีกเลี่ยงการออกแดดจัด หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งช่วง 10.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แดดร้อนที่สุด หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ควรหา ร่ม หมวก หรือเสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันความร้อน

3. ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม เลือกเสื้อผ้าที่ บาง เบา ระบายอากาศได้ดี และเป็นสีอ่อน หลีกเลี่ยงเสื้อผ้ารัดรูปหรือเนื้อผ้าที่ไม่ระบายเหงื่อ

4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วงอากาศร้อนจัด หากต้องออกกำลังกาย ควรทำในที่ร่ม หรือเลือกเวลาช่วงเช้าหรือเย็น

5. อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทและเย็นสบาย ใช้พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศช่วยลดอุณหภูมิ


6. สังเกตุอาการผิดปกติของร่างกาย อาการเริ่มต้นของฮีทสโตรก ได้แก่ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ตัวร้อนจัด เหงื่อไม่ออก หัวใจเต้นเร็ว หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบหาที่ร่ม ดื่มน้ำ และเช็ดตัวลดอุณหภูมิทันที




โรคพิษสุนัขบ้า หรือ โรคกลัวน้ำ (Rabies)

เป็นโรคไวรัสที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต เกิดจากเชื้อไวรัส Rabies virus ซึ่งสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ โดยสาเหตุมาจากการถูกกัดหรือข่วนโดยสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น สุนัข แมว ค้างคาว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ติดต่อผ่านน้ำลายของสัตว์ที่ติดเชื้อ มีอาการตั้งแต่มีไข้ต่ำ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกเจ็บแผลบริเวณที่ถูกกัด อาจจะรู้สึกชา หรือแสบคัน จนอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ มีอาการกลัวน้ำ และกลัวลม มีอาการกระสับกระส่าย ก้าวร้าวขึ้น กล้ามเนื้อกระตุก กลืนลำบาก น้ำลายไหลตลอดถึงขั้นเป็นอัมพาตลามจากขาไปแขน และกล้ามเนื้อหายใจ จนหมดสติและเสียชีวิตได้

วิธีการป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า

1. การดูแลป้องกันในสัตว์เลี้ยง

 • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ให้สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว ทุกปีตามกำหนด

 • ดูแลสัตว์เลี้ยงให้อยู่ในบริเวณปลอดภัย ไม่ปล่อยให้ออกไปคลุกคลีกับสัตว์จรจัด

 • หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์ป่า เช่น ค้างคาว ลิง หรือสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรค

 • สังเกตอาการสัตว์ หากพบว่าสัตว์มีพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ก้าวร้าว น้ำลายไหลมาก กลัวน้ำ ควรแจ้งสัตวแพทย์ทันที


2. วิธีการป้องกันในมนุษย์

 • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่ไม่รู้จัก โดยเฉพาะสัตว์จรจัด หรือสัตว์ที่มีอาการผิดปกติ

 • หากถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผล ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทันที แล้วใช้แอลกอฮอล์หรือโพวิโดนไอโอดีนใส่แผล

 • ไปพบแพทย์ทันที เพื่อพิจารณารับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

 • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า สำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวแพทย์ หรือผู้ที่ต้องสัมผัสสัตว์บ่อยๆ


3. ดูแลการจัดการสัตว์จรจัด

• แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานสาธารณสุข หากพบสัตว์จรจัดที่มีอาการผิดปกติ

 • สนับสนุนการฉีดวัคซีนในสัตว์จรจัด และโครงการทำหมันเพื่อควบคุมจำนวนสัตว์




โรคไวรัสตับอักเสบA (Hepatitis A)

ไวรัสตับอักเสบ A เป็นโรคติดเชื้อของตับที่เกิดจาก Hepatitis A virus (HAV) มักติดต่อผ่านอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โรคนี้สามารถหายเองได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่ในบางกรณีอาจรุนแรงและทำให้เกิดภาวะตับวายเฉียบพลันได้

การดูแลและการป้องกัน โรคไวรัสตับอักเสบA

1. การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ : การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง โดยทั่วไปจะฉีดทั้งหมด 2 เข็ม ห่างกัน 6–12 เดือน หลังจากฉีดเข็มแรกประมาณ 2–4 สัปดาห์ ร่างกายจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกัน และเมื่อฉีดเข็มที่สองจะช่วยป้องกันโรคได้มากถึง 94–100% และภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานอย่างน้อย 16–25 ปี  


2. การรักษาสุขอนามัย : ล้างมืออย่างสม่ำเสมอ ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งหลังใช้ห้องน้ำ ก่อนปรุงอาหาร และก่อนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค  


3. การบริโภคอาหารและน้ำที่ปลอดภัย : รับประทานอาหารปรุงสุกและสะอาด หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ และใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น  ดื่มน้ำสะอาด น้ำที่ผ่านการกรองหรือต้มสุก และหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากแหล่งที่ไม่ทราบที่มา


4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ : เลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย


โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

โรคอาหารเป็นพิษ

เกิดจากการรับบริโภคอาหารอาหารที่ไม่สะอาดหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต หรือสารพิษจากพืชและสัตว์ ทำให้เกิดอาการทางระบบทางเดินอาหาร อาการที่พบบ่อย ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และมีไข้ อาการมักปรากฏภายใน 1–6 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน


โรคอุจจาระร่วง  

เป็นภาวะที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าวันละ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง อาการที่มักพบร่วมด้วย ได้แก่ ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ และอ่อนเพลีย  สาเหตุหลักของโรคนี้มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิตที่ปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด นอกจากนี้ การรับประทานอาหารรสจัด หรืออาหารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารก็อาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน


 โรคบิด

โรคบิดเป็นการติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชิเกลลา (Shigella)  หรือเกิดจากติดเชื้ออะมีบา (Ameba) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว มีไข้สูงหนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน และอาจถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือมูกเลือดได้ อาการเหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้รู้สึกไม่สบาย แต่ยังเสี่ยงต่อการสูญเสียน้ำในร่างกาย โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง


โรคอหิวาตกโรค (Cholera)

อหิวาตกโรค หรือที่เรียกว่า “โรคห่า” เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร เกิดจากแบคทีเรีย Vibrio cholerae ทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงและเสียชีวิตได้


ร่วมวิธีป้องกัน 7โรคอันตราย เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

 1. รักษาสุขอนามัย : ล้างมือให้สะอาด ควรล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ห้องน้ำ หรือหลังสัมผัสสิ่งสกปรก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค  


2. บริโภคน้ำและอาหารที่ปลอดภัย : ดื่มน้ำสะอาดควรดื่มน้ำที่ผ่านการต้มสุกหรือผ่านการกรองที่ได้มาตรฐาน และเลือกซื้อน้ำแข็งจากแหล่งที่ถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารสุกๆดิบๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม หากมีอาหารเหลือ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นและอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนรับประทาน  


 3. การจัดการอาหาร : ล้างผักและผลไม้ด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้งก่อนบริโภค เพื่อขจัดสิ่งสกปรกและสารเคมีตกค้าง เก็บรักษาอาหารอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน ควรเก็บอาหารในตู้เย็นและอุ่นให้ร้อนทั่วถึงก่อนรับประทาน


4. การจัดเก็บรักษาอาหาร : เลือกบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย เช่น นมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ผักและผลไม้ควรล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนบริโภค เก็บอาหารให้ห่างจากแมลงวัน หนู หรือสัตว์อื่นๆที่อาจเป็นพาหะนำโรค 


5. การกำจัดของเสียและรักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อม ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ : ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ไม่ถ่ายลงในแหล่งน้ำหรือบนพื้นดิน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค 

 

6. กำจัดขยะอย่างเหมาะสม : ทิ้งขยะในถังที่มีฝาปิดและกำจัดขยะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและพาหะนำโรค 

 

7. การดูแลสุขภาพทั่วไป : หลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย


8. การฉีดวัคซีน : วัคซีนป้องกันโรคในบางกรณี เช่น ผู้ที่ต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ควรพิจารณารับวัคซีนป้องกัน



สรุป

ช่วงฤดูร้อนกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเอื้อต่อการแพร่ระบาดของโรคต่างๆที่ควรระวังอย่างมาก เช่น 7โรคอันตราย ที่กล่าวมา ฉะนั้นการป้องกันโรคเหล่านี้ควรเน้นการรักษาสุขอนามัยทั้งส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมรอบข้าง ควรบริโภคอาหารและน้ำที่สะอาด ทานอาหารปรุงสุกใหม่ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่อาจเป็นพาหะ พยายามสังเกตอาการของตัวเองร่วมถึงคนใกล้ชิด และหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัดเป็นเวลานานเพื่อป้องกันภาวะลมแดด